มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว หน่วยเล็กที่สุดของสังคมคือครอบครัว ถัดขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ จนในที่สุดเป็นเมือง เป็นประเทศ มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรค ฯลฯ ที่ชุมของตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ จนเกิดเป็นการค้าขายระหว่างหมู่บ้าน ระหว่างตำบล เมือง และประเทศขึ้น การติดต่อเช่นนี้ ทำให้เกิดการส่งและรับข้อมูลข่าวสารถึงกัน แรกๆก็เป็นการบอกกันปากต่อปาก ต่อมาก็มีการสื่อสารกันด้วยตัวอักษรที่จารึกบนวัสดุต่างๆ ซึ่งมากลายเป็นการส่งจดหมายถึงกัน ความต้องการสื่อสารกันด้วยวิธีการที่หลากหลายขึ้น และมีความรวดเร็วมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีโทรคมนาคม ซึ่งอาศัยหลักวิชาทาง วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนคำพูด ข้อความหรือภาพเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสาย หรือเปลี่ยนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(เรียกว่า คลื่นวิทยุ)กระจายไปในอากาศ เมื่อถึงปลายทาง สัญญาณหรือคลื่นที่ส่งไปนั้น ก็จะถูกคืนสภาพให้กลับเป็นเป็นคำพูดข้อความหรือภาพเหมือนกับสิ่งที่ส่งออกไปจากต้นทางพัฒนาการของเทคโนโลยีโทรคมนาคมนี้ ทำให้คนที่อยู่คนละซีกโลกกันสามารถรับรู้ข่าวสารของกันและกันได้ภายในชั่วพริบตา เพราะอัตราเร็วของการเดินทางของสัญญาณไฟฟ้าตามสายหรือของคลื่นวิทยุนั้น อยู่ในระดับเดียวกับความเร็วของแสง เช่น เหตุร้ายจากการก่อวินาศกรรมโดยใช้เครื่องบินโดยสารที่ถูกจี้บังคับมาชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ที่นครนิวยอร์ค เมื่อวันที่11กันยายน พ.ศ.2544 นั้น คนทั้งโลกได้เห็นเหตุการณ์สดๆ ผ่านเครือข่ายข่าวโทรทัศน์ของซีเอ็นเอ็น
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พึ่งมีขึ้นในช่วงเวลาประมาณ20ปีที่ผ่านมานี่เอง เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวม2เทคโนโลยีเข้าด้วยกัน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคม กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำว่า สารสนเทศ หมายถึง ตัวเนื้อหาของข้อมูลข่าวสาร เราใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนามาจากเครือข่ายโทรทัศน์และเครือข่ายวิทยุมาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์(คำนวณ เปรียบเทียบ และตรวจสอบ ได้รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ) มารวมกับความสามารถของระบบโทรคมนาคม(ติดต่อได้รวดเร็วและกว้างไกล)ดังนั้น เทคโนโลยีสารนเทศ จึงหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาจัดการกับสารสนเทศนั่นเอง
ปัจจุบันนี้ มีการใช้คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information and Communication Technology : ICT กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาบนพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งกำลังเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกด้านหนึ่ง คือ เทคโนโลยีการสื่อสารโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสื่อสารไร้สายก็กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ทำให้เกิดการใช้งาน ในรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่าง เช่น การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ m-Shopping (การซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ) m-Banking (การสั่งจ่ายเงินหรือโอนเงินจากธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือ) m-commerce (ธุรกิจผ่านมือถือ) เป็นต้น นอกจากนี้บริการสอบถามและแจ้งข้อมูลทางโทรศัพท์ซึ่งใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ที่เรียกว่าศูนย์ให้บริการ (Call Center) เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของพัฒนาการใหม่ด้านการสื่อสาร ในกรณีของ Call Center แม้ว่าจะต้องมีระบบคอมพิวเตอร์ติดตั้งอยู่ทางด้านผู้ให้บริการ แต่ทางด้านผู้รับบริการใช้เพียงโทรศัพท์ ก็สามารถรับบริการได้ ซึ่งแตกต่างจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างอินเตอร์เน็ตที่ผู้ใช้บริการต้องมีระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย อย่างไรก็ตาม ในอนาคตไม่ไกลนัก เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารมีแนวโน้มจะรวมเข้าด้วยกัน ดังจะเห็นได้จากโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ ที่สามารถรับส่งอีเมล์ได้ คอมพิวเตอร์พกพาบางรุ่นก็สามารถใช้เป็นโทรศัพท์มือถือได้ด้วย วิธีการผสมผสานเทคโนโลยีทั้งสองด้านนี้ เรียกว่า คอนเวอร์เจนซ์ (Convergence)
1.ประวัติโดยย่อของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
จากที่กล่าวมาแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการจากการรวมกันของเทคโนโลยี 2 ด้าน คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งแต่ละด้านมีประวัติหรือพัฒนาการ ดังนี้
เทคโนโลยีโทรคมนาคม
เทคโนโลยีโทรคมนาคม เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ แซมวล มอร์ส(Samual Morse) ในปี พ.ศ. 2380 นับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายเป็นระยะทางไกลๆได้ โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษร เป็นรหัสอื่นที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-) เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น... - - - ... การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้งแรก
(ก) (ข)
ในปี พ.ศ. 2419 อเล็กซานเดอร์ แกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell)ได้ประดิษฐ์โทรศัพท์ และได้ตั้งชุมสายโทรศัพท์แห่งแรกที่เมืองนิวเฮเวน รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา จากนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ได้ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว จนในปัจจุบันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยระบบโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ นับเป็นพัฒนาการอันยิ่งใหญ่ด้านเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม
ด้านการสื่อสารไร้สาย ได้มีการพัฒนาการค้นพบคลื่นวิทยุในปี พ.ศ. 2430 โดย ไฮน์ริช แฮตน์ (เฮิร์ต) (Heinrich Hertz) และต่อมาปี พ.ศ. 2437 กูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) สามารถประดิษฐ์เครื่องรับส่งวิทยุเครื่องแรกได้สำเร็จ จากนั้นได้มีพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่สำคัญหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
ในปี พ.ศ. 2477-2479 จอห์น เฟลมมิง (John Flemming) และ ลี เดอ ฟอเรสต์ (Lee De Forest) ได้ประดิษฐ์หลอดสุญญากาศ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายการแปรรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
ในปี พ.ศ. 2497 วลาดิเมียร์ สวอริคิน (Vladimir Zworykin) ได้ประดิษฐ์หลอดภาพโทรทัศน์ ซึ่งเป็นที่มาของจอภาพคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2490 ชอกลีย์ บาร์ดีน และ แบรตเทน (Schockley, Bardeen and Brattain) ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ ซึ่งเป็นที่มาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสารกึ่งตัวนำไอซีและซีพียูในคอมพิวเตอร์
ในปี พ.ศ. 2500 คิลบี และ นอยส์ (Jack Kilby, Robert Noyce) ได้ประดิษฐ์วงจรรวมหรือไอซี ซึ่ง เป็นเทคโนโลยีย่อส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีสมรรถนะสูงและมีขนาดเล็ก
ในปี พ.ศ. 2504 บริษัทเอทีแอนด์ที ได้สร้างดาวเทียมสื่อสาร เทลสตาร์ 1 เป็นดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลก
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
หลักการของแบบเบจได้ถูกนำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นเป็นต้นมาได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค
ยุคที่ 1 พ.ศ. 2489 – 2501
เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี
จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ จึงนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสุญญากาศ
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
ใช้อุปกรณ์หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน
ยุคที่ 2 พ.ศ. 2502 – 2506
มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core) มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS) สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language) เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
ยุคที่ 3 พ.ศ. 2507 – 2512
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก
นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป
ยุคที่ 4 พ.ศ. 2513 – 2532
เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)
ยุคที่ 5 พ.ศ. 2533 – ปัจจุบัน
ในยุคนี้มุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และความสะดวกสบายในการใช้งานอย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI(Very Large Scale Integration) ให้ใช้งานง่ายและมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผล ตามลักษณะของโปรแกรม
ลักษณะของระบบปัญญาประดิษฐ์
ระบบปัญญาประดิษฐ์มี 4 ลักษณะ ได้แก่
1) ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robot arm System) คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
1) ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robot arm System) คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
2) ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น
3) ระบบการรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) คือการพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น
4) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มีหรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2390 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ จอร์ช บูล (George Boole) ได้เผยแพร่คณิตศาสตร์แนวใหม่ที่เรียกว่า พีชคณิตแบบบูลีน (Boolean Algebra) ซึ่งต่อมากลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการออกแบบ วงจรตรรกะ (Logic Circuit) ซึ่งวงจรตรรกะนี้เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ระบบอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกที่สามารถบรรจุโปรแกรมให้คำนวณข้อมูลได้หลากหลาย ถูกสร้างขึ้นที่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2489 เพื่อใช้การคำนวณวิถีกระสุนปืนใหญ่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 มีชื่อเรียกว่า อินิแอ็ก (Electronic Numerical Integrator and Calculator : ENIAC) คอมพิวเตอร์เครื่องนี้มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลอดสุญญากาศประมาณ 18,000 หลอด ว่ากันว่าเครื่องนี้สามารถคำนวณโจทย์ยากๆ ทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์โดยใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง แทนที่จะใช้วิศวกร 100 คนคำนวณด้วยมือในเวลาถึง 1 ปี อีกสองปีต่อมาฟอน นอยมัน (Von Neuman) นักคณิตศาสตร์ซึ่งอยู่ในทีมงานที่สร้างอินิแอ็ก มีแนวคิดใหม่ว่า คอมพิวเตอร์ควรมีหน่วยความจำสำหรับเก็บโปรแกรมด้วยแทนที่จะเก็บเฉพาะข้อมูลเหมือนเครื่องอินิแอ็ก เขาจึงสร้างเครื่องใหม่ขึ้นและให้ชื่อว่า เอ็ดแว็ก (Edvac) ผู้นี้จึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้
หลังจากที่ได้มีการประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ในปี พ.ศ. 2490 คอมพิวเตอร์ยุคต่อมาซึ่งใช้ทรานซิสเตอร์แทนหลอดสุญญากาศจึงมีขนาดเล็กลง สิ้นเปลืองพลังงานน้อยลง อีกทั้งโอกาสเสียน้อยลงเพราะไม่ร้อนจัด แต่พลังงานที่ถือว่าเป็นจุดหักเหของเทคโนโลยีคือ การประดิษฐ์วงจรรวมหรือไอซีพิเศษที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้นในปี พ.ศ. 2513 โดย เทด ฮอฟฟ์ (Ted Hoff) แห่งบริษัท อินเทล (Intel) ไมโครโพรเซสเซอร์คือ ไอซีที่ใช้ทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์และของเครื่องควบคุมอัตโนมัติต่างๆนั่นเอง ในปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิตไมโครโพรเซสเซอร์จะผลิตไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่มีสรรถนะสูงขึ้นเรื่อยๆ ออกมาทุก 6 เดือน จึงทำให้คอมพิวเตอร์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน จัดอยู่ในประเภทคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) หรือพีซี บริษัทแรกที่ใช้คำนี้คือบริษัท ไอบีเอ็ม (IBM) ใช้เรียกคอมพิวเตอร์ขนาดตั้งโต๊ะที่วาง ตลาดในปี พ.ศ. 2524 แต่อันที่จริงคอมพิวเตอร์ขนาดตั้งโต๊ะเครื่องแรกที่ใช้งานได้จริงมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 คือ แอปเปิลทู (Apple II) ซึ่งออกแบบและผลิตจำหน่ายโดย สตีฟ จอบส์ (Steve Wozniak and Steve Jobs)
การที่แอปเปิลทูโด่งดังและขายดีติดตลาดอยู่หลายปี เพราะมีผู้เขียนโปรแกรมสนับสนุนเริ่มตั้งแต่โปรแกรมแปลภาษาเบสิก (Basic Interpreter) ซึ่งผู้ใช้สามารถเขียนโปรแกรมใช้งานง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมวิสิคาล (VisiCalc) ซึ่งเป็นโปรแกรมตารางคำนวณอัตโนมัติโปรแกรมแรกของโลก ทำให้สามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีได้อย่างง่ายดาย นี่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า โปรแกรม หรือ ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
ในช่วงแรกของยุคคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้น คอมพิวเตอร์ยังมีขีดความสามารถไม่สูงนัก การใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ในการคำนวณ หรือเก็บข้อมูลที่เป็นข้อความ (Text) ต่อมาจึงได้มีกี่พัฒนาให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถจัดการกับข้อมูลที่เป็นรูปภาพสี ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ และเสียง คอมพิวเตอร์จึงมีความพร้อมอย่างสมบูรณ์สำหรับงานสารสนเทศที่ประกอบด้วยสื่อชนิดต่างๆ เราเรียกระบบเช่นนี้ว่า ระบบมัลติมีเดีย(Multimedia)
นอกจากคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์แล้ว ยังมีการพัฒนาเรื่องการนำคอมพิวเตอร์มาต่อเชื่อมกันเป็นเครือข่าย เพื่อสามารถรับส่งข้อมูลและทำงานประสานกันระหว่างเครื่อง การเชื่อมต่อเครือข่ายที่เล็กที่สุด คือ เครือข่ายภายในสำนักงานเดียวกัน เรียกว่าเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ หรือ แลน (Local Area Network : LAN) ส่วนเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดครอบคลุมไปทั่วโลก คือ อินเทอร์เน็ต (Internet) ซึ่งเป็นสิ่งที่นำความเปลี่ยนแปลงทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
3. ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบคำ 2 คำ ได้แก่ เทคโนโลยี และ สารสนเทศ ซึ่งแต่ละคำมีความหมายดังนี้
เทคโนโลยี (Technology) เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า TEXERE มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า to weave แปลว่า สาน เรียบเรียง ถักทอ ปะติดปะต่อ และ construct แปลว่า สร้าง ผูกเรื่อง ความรู้สึกนึกคิดที่ก่อให้เกิด ส่วนเทคโนโลยี ในรากศัพท์ภาษากรีกมาจากคำว่า technologia แปลว่า การทำงานอย่างเป็นระบบ (systematic treatment) (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2539)
คาร์เตอร์ วี กู๊ด (Good, 1973) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในวงการต่าง ๆ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
เอดการ์ เดล (Dale, 1965) กล่าวว่า เทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแผนการ วิธีการทำงานอย่างเป็นระบบที่ให้ผลบรรลุตามแผนการ
ไฮนิช และ คนอื่น ๆ (Heinech and Others, 1989) ได้อธิบายว่าเทคโนโลยีจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1) เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ(process) เป็นการใช้วิทยาศาสตร์และความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อและนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
2) เทคโนโลยีลักษณะของผลผลิต (product and product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี เช่น ฟิล์มภาพยนตร์เป็นผลผลิตของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเช่นเดียวกับเครื่องฉายภาพยนตร์ หรือหนังสือเป็นผลผลิตของเทคโนโลยีเช่นเดียวกับแท่นพิมพ์หนังสือ เป็นต้น
3) เทคโนโลยีลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) ซึ่งใช้ร่วมกันสองลักษณะ เช่น เทคโนโลยีช่วยให้ระบบการรับส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นผลจากความก้าวหน้าของการประดิษฐ์วัสดุอุปกรณ์เพื่อการรับส่งข้อมูล ตลอดจนเทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ระบบส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วและในลักษณะของกระบวนการซึ่งไม่สามารถแยกออกจากผลผลิตได้ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม เป็นต้น
1) เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ(process) เป็นการใช้วิทยาศาสตร์และความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อและนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
2) เทคโนโลยีลักษณะของผลผลิต (product and product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี เช่น ฟิล์มภาพยนตร์เป็นผลผลิตของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเช่นเดียวกับเครื่องฉายภาพยนตร์ หรือหนังสือเป็นผลผลิตของเทคโนโลยีเช่นเดียวกับแท่นพิมพ์หนังสือ เป็นต้น
3) เทคโนโลยีลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) ซึ่งใช้ร่วมกันสองลักษณะ เช่น เทคโนโลยีช่วยให้ระบบการรับส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นผลจากความก้าวหน้าของการประดิษฐ์วัสดุอุปกรณ์เพื่อการรับส่งข้อมูล ตลอดจนเทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ระบบส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วและในลักษณะของกระบวนการซึ่งไม่สามารถแยกออกจากผลผลิตได้ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม เป็นต้น
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2520) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ว่าตามรูปศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า Technology ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติการ และสิ่งประดิษฐ์ที่อยู่ในรูปแบบของการจัดระบบงานอันประกอบด้วยองค์สาม คือ
1) ข้อมูลที่ใส่เข้าไป ได้แก่ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ การตั้งวัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลหรือวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องทุกแง่ทุกมุม
2) กระบวนการ ได้แก่ การลงมือปฏิบัติการ การแก้ปัญหา การจำแนกแจกแจง การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์
3) ผลลัพธ์ คือ ผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือการดำเนินงาน สามารถวัดและประเมินผลได้ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน
1) ข้อมูลที่ใส่เข้าไป ได้แก่ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ การตั้งวัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลหรือวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องทุกแง่ทุกมุม
2) กระบวนการ ได้แก่ การลงมือปฏิบัติการ การแก้ปัญหา การจำแนกแจกแจง การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์
3) ผลลัพธ์ คือ ผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือการดำเนินงาน สามารถวัดและประเมินผลได้ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน
ทัศนะเกี่ยวกับเทคโนโลยี
จากความหมายของเทคโนโลยีดังกล่าวมาแล้วทำให้นักการศึกษามีทัศนะหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีแตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ทัศนะคือ
1.ทัศนะด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ (science technology) มุ่งเน้นการพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ให้เจริญก้าวหน้าด้วยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เพื่อสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานสาขาต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยทั่วไปวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีมีองค์ประกอบสำคัญคือ เครื่องยนต์ กลไก ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตามเครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้นักการศึกษาให้ความเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีประเภทเครื่องมือ (tools technology)
2.ทัศนะด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral technology) เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นกระบวนการคิดและการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยการผสมผสานความรู้จากศาสตร์หลาย ๆ ด้านเข้าด้วยกัน เช่น มนุษยศาสตร์ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการเรียนการสอน ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะสำคัญของแต่ละงาน ในบางสถานการณ์อาจนำวัสดุอุปกรณ์เข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน แต่เป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนเท่านั้น
1.ทัศนะด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ (science technology) มุ่งเน้นการพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ให้เจริญก้าวหน้าด้วยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เพื่อสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานสาขาต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยทั่วไปวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีมีองค์ประกอบสำคัญคือ เครื่องยนต์ กลไก ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตามเครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้นักการศึกษาให้ความเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีประเภทเครื่องมือ (tools technology)
2.ทัศนะด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral technology) เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นกระบวนการคิดและการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยการผสมผสานความรู้จากศาสตร์หลาย ๆ ด้านเข้าด้วยกัน เช่น มนุษยศาสตร์ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการเรียนการสอน ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะสำคัญของแต่ละงาน ในบางสถานการณ์อาจนำวัสดุอุปกรณ์เข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน แต่เป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนเท่านั้น
จากความหมายและลักษณะของเทคโนโลยีดังกล่ามาแล้วพอสรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิธีการหรือกระบวนการในการนำความรู้สาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการดำเนินงานที่มีระบบและวิธีการที่ก้าวหน้าจึงนิยมใช้คำว่าเทคโนโลยีนำหน้าเสมอ เช่น เทคโนโลยีการสื่อสาร เทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
สารสนเทศ (Information)
ปัจจุบันคำว่าสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทกับวงการต่าง ๆ ในสังคมกว้างขวาง และมักนิยมใช้ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีและเรียกเป็นคำเดียวกันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อมาเพิ่มเติมเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งแต่ละคำมีพัฒนาการที่มีความหมายดังนี้
คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (2543) ได้ให้นิยามของสารสนเทศว่า หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข เสียงและภาพ หรือในรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้ และยังให้ความเห็นว่า สารสนเทศ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการก่อให้เกิดสังคมแห่งปัญญาและช่วยเกื้อหนุนการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้รับตีความ จำแนกแจกแจง จัดหมวดหมู่ หรือประมวลผลจนมีสาระอยู่ในตัวมันเอง สามารถสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในหรือภายนอกองค์การ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
เมื่อเนื้อหาข้อมูลมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลเราจึงนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการจำแนก จัดหมวดหมู่ จัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจึงเรียกวิธีการดำเนินงานเช่นนี้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT)
คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (2543) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีสานสนเทศว่า หมายถึง ความรู้ในผลิตภัณฑ์หรือในกระบวนการดำเนินงานใด ๆ ที่อาศัยเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ การติดต่อสื่อสาร การรวบรวมและการนำข้อมูลมาใช้ทันการเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งทางด้านการผลิต การบริการ การบริหาร และการดำเนินการ รวมทั้งเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุณภาพของประชาชนในสังคม ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงเป็นการนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ผสมผสานกับการสื่อสาร ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ในการใช้งานได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology)
ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์แผ่อิทธิพลไปสู่สังคมโลกทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถเชื่อมโยงกันแบบเครือข่ายหรือใยแมงมุมได้ทั่วทุกมุมโลกโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่นโทรศัพท์ ดาวเทียม เส้นใยแก้วนำแสง ไมโครเวฟ ผสมผสานกันเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น เราจึงเรียกกระบวนการนี้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Communication Technology : ICT)
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างแพร่หลายเป็นที่สนใจของคนทุกมุมโลกทุกสาขา สามารถนำมาใช้ในการดำเนินงานและชีวิตประจำวันได้อย่างกว้างขวาง การจัดการเรียนรู้และการศึกษาในสมัยนี้จึงมีหลักสูตรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเข้าไปด้วย เทคโนโลยีที่มีความสำคัญและเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันได้แก่เทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะปัจจุบันนี้อุปกรณ์หลายชนิดก็ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ มือถือ อินเทอร์เน็ต PDA, GPS ดาวเทียม และเมื่อไม่นานมานี้มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นการบ่งบอกว่าสังคมให้ความสำคัญแก่คอมพิวเตอร์มากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เช่น
1) ด้านวิชาการ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าวิจัย
2) การดำรงชีวิตประจำวัน ช่วยให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน ช่วยให้การทำงานใช้เวลาน้อยลง
3) การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
4) ด้านการติดต่อสื่อสาร ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่าง ๆ และปรากฏการณ์โลกไร้พรมแดนทำให้ผู้คนในสังคมมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
5) ด้านผลผลิต ระบบการทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือจะช่วยให้ทำงานได้มากขึ้น หรือช่วยลดความเสี่ยงในงานบางอย่างโดยใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว
1) ด้านวิชาการ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล ทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าวิจัย
2) การดำรงชีวิตประจำวัน ช่วยให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง ๆ สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน ช่วยให้การทำงานใช้เวลาน้อยลง
3) การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
4) ด้านการติดต่อสื่อสาร ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการต่าง ๆ และปรากฏการณ์โลกไร้พรมแดนทำให้ผู้คนในสังคมมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
5) ด้านผลผลิต ระบบการทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือจะช่วยให้ทำงานได้มากขึ้น หรือช่วยลดความเสี่ยงในงานบางอย่างโดยใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว
ลักษณะสารสนเทศที่ดี
สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ในการใช้งานควรมีลักษณะดังนี้
ด้านเนื้อหา (Content)
- ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
- ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
- ความถูกต้อง (accuracy)
- ความเชื่อถือได้ (reliability)
- การตรวจสอบได้ (verifiability)
ด้านเนื้อหา (Content)
- ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
- ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
- ความถูกต้อง (accuracy)
- ความเชื่อถือได้ (reliability)
- การตรวจสอบได้ (verifiability)
ด้านรูปแบบ (Format)
- ชัดเจน (clarity)
- ระดับรายละเอียด (level of detail)
- รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
- สื่อการนำเสนอ (media)
- ความยืดหยุ่น (flexibility)
- ชัดเจน (clarity)
- ระดับรายละเอียด (level of detail)
- รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
- สื่อการนำเสนอ (media)
- ความยืดหยุ่น (flexibility)
ด้านประสิทธิภาพ (efficiency)
- ประหยัด (economy)
- เวลา (Time)
- ความรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ (timely)
- การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
- มีระยะเวลา (time period)
- ประหยัด (economy)
- เวลา (Time)
- ความรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ (timely)
- การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
- มีระยะเวลา (time period)
ด้านกระบวนการ (Process)
- ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
- การมีส่วนร่วม (participation)
- การเชื่อมโยง (connectivity)
- ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
- การมีส่วนร่วม (participation)
- การเชื่อมโยง (connectivity)
4. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ในสังคมปัจจุบันไม่ว่าใครจะอยู่ที่ใด แม้ในเมืองหรือชนบทก็ตาม ย่อมมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลหรือสังคมอื่นอยู่เสมอไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นหรือการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำวันด้วยสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร ล้วนเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีเครื่องมือหรือกลไกเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM : Automatic Teller/Technology Machine) การสแกนลายนิ้วมือการเข้าปฏิบัติงานในสำนักงาน การจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าผ่านบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นต้น เหล่านี้เป็นตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน ยิ่งไปกว่านั้น ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการใหม่ ๆ ก่อให้เกิด เครื่องมือหรือวิธีการในการอำนวยความสะดวกในการใช้บริการอย่างรวดเร็ว เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน สามารถให้บริการโดยเชื่อมต่อ ระบบออนไลน์ (online system) ซึ่งเป็นระบบสายตรงที่มีประโยชน์มาก และเป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็น กรณีตัวอย่าง เช่น การรับบริการรักษาพยาบาลตามโรงพยาบาล ปัจจุบันใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาบริหารจัดการ โดยผู้ป่วยสามารถบอกชื่อนามสกุลที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ก็สามารถเรียกเวชระเบียนออกมาได้อย่างรวดเร็ว เพราะโรงพยาบาลมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึง ทำให้เวชระเบียนที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ถูกส่งจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายไปปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ในห้องตรวจของแพทย์ได้ทันที เมื่อแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยโรค สามารถสั่งการรักษาหรือสั่งยา จากห้องแพทย์ไปสู่แผนกเอ็กซเรย์ แผนกจ่ายยา ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
ในสังคมปัจจุบันไม่ว่าใครจะอยู่ที่ใด แม้ในเมืองหรือชนบทก็ตาม ย่อมมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลหรือสังคมอื่นอยู่เสมอไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นหรือการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำวันด้วยสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร ล้วนเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีเครื่องมือหรือกลไกเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM : Automatic Teller/Technology Machine) การสแกนลายนิ้วมือการเข้าปฏิบัติงานในสำนักงาน การจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าผ่านบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นต้น เหล่านี้เป็นตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน ยิ่งไปกว่านั้น ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการใหม่ ๆ ก่อให้เกิด เครื่องมือหรือวิธีการในการอำนวยความสะดวกในการใช้บริการอย่างรวดเร็ว เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน สามารถให้บริการโดยเชื่อมต่อ ระบบออนไลน์ (online system) ซึ่งเป็นระบบสายตรงที่มีประโยชน์มาก และเป็นตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็น กรณีตัวอย่าง เช่น การรับบริการรักษาพยาบาลตามโรงพยาบาล ปัจจุบันใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาบริหารจัดการ โดยผู้ป่วยสามารถบอกชื่อนามสกุลที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ก็สามารถเรียกเวชระเบียนออกมาได้อย่างรวดเร็ว เพราะโรงพยาบาลมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึง ทำให้เวชระเบียนที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ถูกส่งจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายไปปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ในห้องตรวจของแพทย์ได้ทันที เมื่อแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยโรค สามารถสั่งการรักษาหรือสั่งยา จากห้องแพทย์ไปสู่แผนกเอ็กซเรย์ แผนกจ่ายยา ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
5. กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ เช่น การสื่อสาร การธนาคาร การบิน วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การแพทย์ การศึกษาหรือการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลกได้ทันเหตุการณ์ สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่ เช่น การถ่ายทอดสด การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ รายการแข่งขันกีฬา การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่าง ๆ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน สร้างภาพกราฟิก เก็บข้อมูล สืบค้นข้อมูล ฟังเพลง รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ช่วยส่งเสริมทักษะและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ มากมาย เช่น การใช้โทรศัพท์ต้องอาศัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้า และจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณเสียงที่เครื่องโทรศัพท์ปลายทาง ส่วนการใช้โทรศัพท์มือถือในการสื่อสารคลื่นเสียงจะถูกเปลี่ยนเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้าวิ่งผ่านอากาศไปยังสถานีแม่ข่ายหรือดาวเทียมเพื่อส่งต่อคลื่นสัญณาณไฟฟ้าไปยังเครื่องรับโทรศัพท์ปลายทาง ดังนั้นเครื่องโทรศัพท์มือถือทั่วไปจะต้องมีเครื่องรับและส่งสัญญาณคลื่นเสียงที่เราพูดคุยกัน และในปัจจุบันเราสามารถสื่อสารระหว่างกันโดยการใช้โทรศัพท์มือถือรุ่นที่สาม หรือ 3G ส่งสัญญาณเสียงและภาพพร้อมกัน โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ ทำให้เราสามารถเห็นภาพของคู่สนทนาไปพร้อม ๆ กัน
6. บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีต่อสังคม
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีบทบาทที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมในหลายด้าน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
- ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล
- ช่วยทำให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
- การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
- สามารถเข้าถึงคลังข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต
- สนับสนุนการทำงานและกระบวนการผลิต เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการวางแผน การออกแบบและการควบคุมระบบการทำงาน
- ส่งเสริมระบบบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหน่วยงานหรือองค์กร
- กระจายโอกาสด้านการศึกษา ให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล สามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้
- สามารถเผยแพร่สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สังคมโลกได้โดยง่าย เช่น การเผยแพร่งานในอินเตอร์เน็ตตำบล เป็นต้น
- ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
- ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล
- ช่วยทำให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
- การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
- สามารถเข้าถึงคลังข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต
- สนับสนุนการทำงานและกระบวนการผลิต เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการวางแผน การออกแบบและการควบคุมระบบการทำงาน
- ส่งเสริมระบบบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหน่วยงานหรือองค์กร
- กระจายโอกาสด้านการศึกษา ให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล สามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้
- สามารถเผยแพร่สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สังคมโลกได้โดยง่าย เช่น การเผยแพร่งานในอินเตอร์เน็ตตำบล เป็นต้น
- ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง